ความหมายของการบริโภคและผู้โภคผู้บริโภคหมายถึง ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ
หรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอ หรือการชักชวน จากผู้ประกอบธุรกิจ
เพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับ บริการ และหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้า
หรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม อ่านเพิ่มเติม
วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559
สื่อโฆษณา
การโฆษณาหมายถึง การให้ข้อมูล ข่าวสาร
เป็นการสื่อสารจูงใจผ่านสื่อโฆษณาประเภทต่าง ๆ
เพื่อจูงใจหรือโน้มน้าวใจให้กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย
มีพฤติกรรมคล้อยตามเนื้อหาสารที่โฆษณา อันเอื้ออำนวยให้มีการซื้อหรือใช้สินค้าและบริการ ตลอดจนชักนำให้ปฏิบัติตามแนวความคิดต่าง ๆ
ทั้งนี้ขอให้ผู้โฆษณาหรือผู้อุปถัมภ์จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสื่อนั้น ๆ อ่านเพิ่มเติม
โรคพันธุกรรม
โรคทางพันธุกรรมเป็นโรคซึ่งเกิดจากความผิดปกติของยีนหรือโครโมโซม แม้โรคบางชนิดเช่นมะเร็งจะมีสาเหตุส่วนหนึ่งสัมพันธ์กับความผิดปกติของพันธุกรรม
แต่ก็ยังเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ที่เป็นปัจจัยสิ่งแวดล้อมด้วย
โรคทางพันธุกรรมส่วนใหญ่เป็นโรคที่พบได้น้อย อาจมีผู้ป่วยเพียงหนึ่งในหลายพันหรือหลายล้านคน
ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดเป็นลักษณะด้อยบางชนิด
อาจทำให้ผู้ที่เป็นพาหะหรือเป็นเฮเทอโรไซกัสเกิดภาวะได้เปรียบทางพันธุกรรมในสภาพแวดล้อมบางแบบได้
เช่นที่พันธุกรรมทาลัสซีเมียทำให้มีโอกาสรอดชีวิตในพื้นที่ที่มีการระบาดของมาลาเรียมากขึ้น เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม
สุขภาพชุมชน
ความหมายและความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพการสร้างเสริมสุขภาพ หมายถึงกระบวนการสร้างเสริม
สนับสนุนด้านสุขภาพโดยให้บุคคลมีการปฏิบัติและการพัฒนาสุขภาพ
ตลอดจนจัดการสิ่งแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพเพื่อให้บรรลุการมีสุขภาพที่ดีท้างทางด้านร่างกาย
จิตใจ สังคม และปัญญา สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข อ่านเพิ่มเติม
สารเสพติด
ความหมายของยาเสพติด ยาเสพติดหมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้นเมี่อนำเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน
ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว
ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจนอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน
หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง อ่านเพิ่มเติม
ค่านิยมเรื่องเพศ
ค่านิยม มาจากคำในภาษาอังกฤษว่า และมาจากคำสองคำคือ “ค่า” และเมื่อคำสองคำรวมกันแปลว่า การกำหนดคุณค่า คุณค่าที่เราต้องการทำให้เกิดคุณค่า
คุณค่าดังกล่าวนี้มีทั้งคุณค่าแท้และคุณค่าเทียม
ซึ่งคุณค่าแท้เป็นคุณค่าที่สนองความต้องการในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่วนคุณค่าเทียม
หมายถึงคุณค่าที่สนองความต้องการอยากเสพสิ่งปรนเปรอชั่วคู่ชั่วยาม อ่านเพิ่มเติม
สุขภาพ
สุขภาพหมายถึงระดับของประสิทธิภาพเชิงการทำงานหรือเชิงเมตาบอลิกของสิ่งมีชีวิตสำหรับมนุษย์นั้นโดยทั่วไปและตามนิยามขององค์การอนามัยโลกหมายถึงสภาวะอันสมบูรณ์ของภาวะทางกาย
จิต จิตวิญญาณ และสังคมของบุคคล
อันมิได้หมายถึงความปราศจากโรคหรือความบกพร่องเพียงอย่างเดียว แม้นิยามนี้จะเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์โดยเฉพาะในประเด็นของความไม่มีตัวชี้วัดที่ชัดเจนหรือประเด็นปัญญาที่ตามมาจากการใช้คำว่า
"สมบูรณ์" ก็ตาม แต่ก็ยังเป็นนิยามที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดอยู่
ระบบจำแนกประเภทต่างๆ เช่น Family of
International Classifications ขององค์การอนามัยโลก
ซึ่งประกอบด้วย International
Classification of Functioning, Disability and Health (ICF) และ International
Classification of Diseases (ICD) เป็นเกณฑ์ที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในการนิยามและวัดองค์ประกอบของสุขภาพ อ่านเพิ่มเติม
ระบบโครงกระดูก
ระบบโครงกระดูก (skeletal system) คือระบบทางชีววิทยาที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างสิ่งมีชีวิต แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ระบบโครงกระดูกภายนอก (exoskeleton) พบในสัตว์ประเภทแมลง หรือหอย เป็นโครงสร้างแข็งภายนอกปกป้องร่างกาย ระบบโครงกระดูกภายใน (endoskeleton) พบในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เช่นกระดูกมนุษย์ หรือกระดูกในสัตว์ประเภทปลาที่เรียกว่า ก้าง
และ ระบบโครงกระดูกของเหลว (hydrostatic skeleton) เป็นระบบโครงสร้างที่ใช้ของเหลว
เช่น เลือด เป็นส่วนประกอบ พบตามสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมงกะพรุน อ่านเพิ่มเติม
ระบบกล้ามเนื้อเป็นระบบที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย
โดยจะอาศัยคุณสมบัติการหดตัวของใยกล้ามเนื้อ
ทำให้กระดูกและข้อต่อเกิดการเคลื่อนไหว และมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
นอกจากการเคลื่อนไหว ของกระดูกและข้อต่อแล้ว
ยังมีการเคลื่อนไหวของอวัยวะภายในร่างกาย เช่น การเต้นของหัวใจ การบีบตัวของ เส้นโลหิต การบีบตัวของกระเพาะอาหาร ลำไส้ และการทำงานของปอด
เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม
ระบบผิวหนัง
ระบบผิวหนังผิวหนังของคนเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นนอกสุด
ที่ห่อหุ้มร่างกายเอาไว้ ผิวหนังของผู้ใหญ่คนหนึ่ง มีเนื้อที่ประมาณ 3,000 ตารางนิ้ว
ผิวหนังตามส่วนต่างๆของร่างกาย จะหนาประมาณ 1-4 มิลลิเมตร
แตกต่างกันไปตามอวัยวะ และบริเวณที่ถูกเสียดสี เช่น ผิวหนังที่ศอก และ เข่า
จะหนากว่าผิวหนังที่แขนและขาโครงสร้างของผิวหนัง ผิวหนังของคนเราแบ่งออกได้เป็น 2 ชั้น คือ
หนังกำพร้าและหนังแท้1. หนังกำพร้า(Epidermis) เป็นผิวหนังที่อยู่ ชั้นบนสุด มีลักษณะบางมาก ประกอบไปด้วยเชลล์
เรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ โดยเริ่มต้นจากเซลล์ชั้นในสุด ติดกับหนังแท้
ขึ่งจะแบ่งตัวเติบโตขึ้นแล้วค่อยๆ เลื่อu มาทดแทนเขลล์ที่อยู่ชั้นบนจนถึงชั้นบนสุด
แล้วก็ กลายเป็นขี้ไคลหลุดออกไป อ่านเพิ่มเติม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)